Naymoo Tor

Just another WordPress.com site

การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม ม.6 ธันวาคม 23, 2010

 

วรรณกรรม ร้อยกรอง                                         

คือ วรรณกรรมที่การเขียนมีการบังคับรูปแบบด้วยฉันทลักษณ์ต่างๆ เช่น บังคับคณะ บังคับคำ และแบบแผนการส่งสัมผัสต่าง ๆ บางครั้งเรียกงานเขียนประเภทนี้ว่า กวีนิพนธ์ หรือ คำประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต เป็นต้น นอกจากนี้วรรณกรรมร้อยกรองยังแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ดังนี้
        วรรณกรรมประเภทบรรยาย (Narrative) คือ วรรณกรรมร้อยกรองที่มีโครงเรื่อง ตัวละคร และเหตุการณ์ต่าง ๆ ผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันไป เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา เป็นต้น 
        วรรณกรรมประเภทพรรณา หรือ รำพึงรำพัน ( Descriptive or Lyrical) มักเป็นบทร้อยกรองที่ผู้แต่งมุ่งแสดงอารมณ์ส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีโครงเรื่อง เช่น นิราศ และเพลงยาว เป็นต้น (ประทีป เหมือนนิล . 2519 : 22-23.) 
        วรรณกรรมประเภทบทละคร (Dramatic) เป็นบทร้อยกรองสำหรับการอ่านและใช้เป็นบทสำหรับการแสดงด้วย เช่น บทพากย์โขน บทละครร้อง บทละครรำ เป็นต้น

ต้องอ่าน…………จึงจะรู้  OK  ป๊ะ 

…คลิ๊กเลย…

 http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/thai04/07/analyze_2.html

การอ่านจับใจความและคิดวิเคระห์

http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=1&ved=0CBcQFjAA&url=http%3A%2F%2Fcdn.gotoknow.org%2Fassets%2Fmedia%2Ffiles%2F000%2F028%2F789%2Foriginal_110980-4-9-present1.ppt%3F1285419589&ei=0PBRTfjrGIHCcfDNmYEH&usg=AFQjCNEK69m8Y5S4XdbNxa_1SJY4GrEbww&sig2=JvpOdd2HsIl0A-iKY5BJSg

 

 

 

 

 

 

แบบฝึกหัดการอ่านและพิจารณาวรรณกรรม

ระบบ  e-Learning   ลองทำกันดูน่ะ

http://edltv.thai.net/index.php?mod=Courses&file=showcontent&cid=74&lid=250329&lid_parent=250357&plid=250366&sid=301

 

เรื่อง….การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม

“ วรรณกรรม ” และ  “ วรรณคดี  ” เป็นคำที่แปลมาจากคำว่า  Literature ในภาษาอังกฤษ

มีความหมายทั้งอย่างกว้างและอย่างแคบดังนี้ “ วรรณคดีในความหมายกว้าง คือ เอกสาร

ที่กล่าวแสดงความรู้สึก  ความคิด  ความรู้สึกของมนุษย์โดยใช้ภาษาเป็นสื่อกลาง   ส่วน

วรรณคดีในความหมายแคบ   หมายถึง   เรื่องความวิจิตรบรรจง ทวงทำนองในการแต่ง

และผลทางอารมณ์ของผู้อ่าน

การแบ่งประเภทวรรณกรรมตามลักษณะคำประพันธ์

1.  ร้อยแก้ว   หมายถึง  บทประพันธ์ที่เขียนขึ้นในรูปความเรียง  กล่าวคือไม่มีการกำหนด

จำนวนคำในวรรค ตำแหน่งสัมผัส เสียงสูงต่ำ หรือหนักเบาใด ๆ

2. ร้อยกรอง  หมายถึง  บทประพันธ์ที่เขียนขึ้นตามลักษณะบังคับฉันทลักษณ์ มีการกำหนด

จำนวนคำในวรรค  การส่งรับสัมผัส  กำหนดเสียงสูงต่ำ

การแบ่งประเภทวรรณกรรมตามลักษณะเนื้อหา

1.       สารคดี  คือ  วรรณกรรมที่มีเนื้อหาเป็นเท็จจริง  ผู้แต่งมุ่งเสนอความรู้หรือข้อเท็จจริง  เพื่อพัฒนา

ความรู้  ความคิดและสติปัญญาแก่ผู้อ่าน  แต่มิใช่เสนอในรูปแบบตำรา  หากใช้วิธีนำเสนอที่ให้ผู้อ่าน

ได้รับทั้งความรู้และความบันเทิงด้วย 

สารคดีอาจแบ่งย่อย ๆ  ได้ดังนี้

1.1    สารคดีวิชาการ  เป็นข้อเขียนที่ให้ความรู้สำหรับคนทั่วไปไม่ลึกซึ้งเหมือนตำรสวิชาการ

1.2    สารคดีการท่องเที่ยว  เป็นข้อเขียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ

1.3     สารคดีแนวประวัติ   สารคดีแนวประวัติเป็นคำเรียกชื่อรวม ๆ ของสารคดีที่เสนอเรื่องเกี่ยว

กับความเป็นไปของคน  สถานที่ หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด  สารคดีแนวประวัติที่เขียนเรื่องโดยเจ้าของเรื่อง

เองอาจเรียกเป็นคำศัพท์เฉพาะว่า  อัตชีวประวัติ   แต่ถ้าคนอื่นเป็นผู้เขียนเรียก  ชีวประวัติ

งานทั้งสองลักษณะนี้มีทั้งตีพิมพ์เป็นเล่มหรือเป็นตอน ๆ ในวารสารและนิตยสาร

1.4     สารคดีแนะนำ  เป็นข้อเขียนซึ่งผู้เขียนต้องการชี้แนะ  แนะนำให้ทำหรือปฏิบัติ  มีลักษณะ

เป็นคู่มือที่บอกขั้นตอนหรือวิธีการที่นำไปปฏิบัติได้อย่างดี

2. บันเทิงคดี  คือ  งานเขียนที่มุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ  ผู้เขียนจะผูกเป็นเรื่องราว  มีตัวละคร  ฉาก  และเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อมุ่งประเทืองอารมณ์แก่ผู้อ่าน  บางเรื่องอาจ แฝงความรู้และคุณค่าทางจริยธรรมไว้ด้วย      บันเทิงคดีอาจแบ่งประเภทย่อย ๆ ได้ดังนี้

2.1    เรื่องสั้น  เป็นเรื่องเล่าขนาดสั้นแต่งเป็นร้อยแก้ว มีตัวละครน้อย มีเหตุการณ์หนึ่งถึงสองเหตุการณ์

2.2    นวนิยาย  เป็นเรื่องเล่าขนาดยาวแต่งเป็นร้อยแก้ว   มีตัวละครหลายตัว และมีการกล่าวถึงเหตุการณ์

ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นกับตัวละครนั้น ๆ โดยใช้บทสนทนา   ฉาก   บรรยากาศเป็นองค์ประกอบสำคัญ

2.3    บทละคร  แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ บทละครพูดและบทละครรำ  

บทละครพูด   เป็นบทที่แต่งขึ้นสำหรับให้ตัวละครเจรจากันตามบทบาทในเรื่อง  มีทั้งที่เป็นร้อยกรอง

และร้อยแก้ว

                                             ประเภทของวรรณกรรม

                      

                                      

 ประเภทของวรรณกรรม
        เนื่องจาก วรรณคดี เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้จะมีความแตกต่างบ้างก็ตาม แต่เมื่อกล่าวถึงประเภทของวรรณกรรม ก็จะกล่าวถึง ประเภทของวรรณคดีด้วยเช่นกัน ซึ่งได้มีผู้เขียนได้แบ่งประเภท ตามเกณฑ์และลักษณะต่าง ๆ มากมาย ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1.) แบ่งตามลักษณะการประพันธ์ มี 2 ประเภท คือ
1. วรรณกรรมร้อยแก้ว                  

2. วรรณกรรมร้อยกรอง

                                                                          อ่านต่อคลิ๊กเลย….!!!!

 http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=1&ved=0CBcQFjAA&url=http%3A%2F%2Fwww.eduzones.com%2Fknowledge-2-1-1852.html&ei=9PNRTfikNoi3cOPwjfoG&usg=AFQjCNG1cqvy9KKGV5VF4RNZiscv3B-irg&sig2=U0t0BFmovIB53ie75N0iaA

 
 

ใส่ความเห็น